วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การต่อลำโพงแบบต่างๆ

รูปแบบการต่อลำโพงเข้าเครื่องขยายเสียง

การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง
การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง
การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียงต้องระวังเรื่องของ line phase
การต่อระบบเสียงมีหลาย ลักษณะเช่น
1. ทิศทางของเสียง
          1.1. ระบบโมโน
          1.2. ระบบสเตอริโอ
การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง
นอกจากนี้ในระบบสเตอริโอ ยังมีระบบย่อย ๆ ออกไปอีกเช่น ระบบสเตอริโอรอบทิศทาง(Surround Sound System)
2. ระบบการขยายความถี่เสียง
          2.1. ระบบการขยายเสียงตลอดย่านด้วย(Single Amplification) ระบบนี้เครื่องขยายเสียงแต่ละตัว(หรือตัวเดียว)จะขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงตลอดย่านความถี่ตั้งแต่ 20 ~ 20,000Hz
ใช้ลำโพง Bi-amp ต่อในระบบ single amplification
2.2. ระบบการขยายเสียงแบบแบ่งช่วงความถี่
         2.2.1  แบบแบ่งเป็นสองช่วงความถี่(Bi-Amplification)
         2.2.2 แบบแบ่งเป็นสามช่วงความถี่(Tri – Amplification)
3. การต่อโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างอิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียงกับลำโพง
   3.1.  อิมพีแดนซ์ต่ำ  การต่อวิธีนี้จะใช้กับการต่อระยะใกล้   การต่อแบบอิมพีแดนซ์ต่ำจะใช้อิมพีแดนซ์อยู่ระหว่าง 4 ~ 16 โอห์ม การต่อแบบอิมพีแดนซ์ต่ำสามารถต่อได้ทั้งแบบอนุกรมหรืออันดับ(series)  ต่อแบบขนาน(parallel) และแบบผสม(Series – Parallel)
   3.1.1. การต่อแบบ อนุกรม(series)   ลักษณะการต่อแบบอนุกรม สัญญาณเข้าทางขั้วลำโพงข้างหนึ่งไปออกอีกข้างหนึ่งของลำโพงแล้วไปต่อกับอีกขั้วหนึ่งของลำโพง
สูตรที่ใช้ในการคำนวณคือ  Z= Z1+Z2
        จากสูตรแทนค่าคือ Z =  8+8     ดังนั้น Z รวมหรืออิมพีแดนซ์รวม = 16 โอห์ม
 ( ** หมายเหตุ  Z หมายถึงค่าอิมพีแดนซ์    ส่วนบางครั้งเราจะพบการใช้ตัวอักษร R แทนที่จะเป็น Z ซึ่งในกรณีดังกล่าว R หมายถึงค่าความต้านทาน
   3.1.2.  การต่อแบบขนาน(parallel)
สูตรการต่อแบบขนานคือ  1/Z = 1/Z1 + 1/Z2 + 1/Z3 + 1/Z4 +…………
จากสูตรในภาพแทนค่า   1/Z = 1/8 + 1/8    ได้เท่ากับ 2/8
   ดังนั้น Z = (8/2) =4 โอห์ม
   3.1.3. การต่อแบบผสม(Series-Parallel Circuit)
วิธีการคำนวณจากการต่อแบบผสมนี้ต้องคิดทีละส่วน คือส่วนที่ต่อแบบอนุกรม และส่วนที่ต่อกันแบบขนาน แล้วจึงนำส่วนดังกล่าวมาอนุกรมหรือขนานกับแล้วแต่ความเหมาะสม
   3.2.  การต่อแบบอิมพีแดนซ์สูง สำหรับการใช้งานหรือต่อลำโพงในระยะใกล  เนื่องจากการต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียงในระยะใกลหรือบริเวณกว้าง
   3.3.  แรงดันคงที่(constant voltage)
ต้องขอขอบคุณ น้องอั้ม มากครับ ที่ Post เรื่องวงจรการต่อลำโพงมาให้
ทำให้ผมสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาต่อยอดได้ ขยายผลออกมาจนเขียนเป็นสมการได้ จึงได้นำมาลงไว้ด้านล่างเพื่อให้เพื่อนๆนำไปใช้ในการคำนวณค่า R และจำนวนลำโพงที่จะต้องใช้

   อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วในช่วงต้น ว่าตอนเริ่มต่อลำโพงในตึกนกของผม พอมีพื้นฐานการต่อลำโพงแต่ละแบบอยุ่บ้าง แต่ว่าไม่แจ่มแจ้งเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อได้เห็นรูปเห็นสมการ แล้ววิเคราะห์สมการต่างๆ ก็ได้รับความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งคิดย้อนหลังไปถึงความผิดพลาดในการต่อลำโพงในบ้านนกของผมที่ใช้การต่อขนานทั้งหมด เพราะว่าไม่มีพื้นฐานเรื่องไฟฟ้า

   ผมจึงคิดว่ายังคงมีคนที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้อยู่แน่นอน จึงได้นำเอาสิ่งนี้มานั่งทำความเข้าใจใหม่ เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้นกว่าเดิม และเขียนเป็นสูตรออกมา เพื่อช่วยทำสิ่งที่ยากให้ง่ายขึ้นสำหรับเพื่อนๆบางคนที่ตกที่นั่งเดียวกันกับผม 

    ผมหวังใจว่าสูตรการคำนวณค่า R นี้คงช่วยให้เพื่อนๆที่กำลังทำบ้านนกจะได้ไม่ต้องมานั่งลำบากอย่างผม ต้องลองผิด ลองถูกกันให้เสียเวลา และสามารถทำงานในส่วนที่ค้างหรือยังไม่เข้าใจ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ดีขึ้น และสามารถเดินได้ตรงแนวโดยไม่ต้องเสียเวลาอย่างที่ผมได้เป็นมา

ผมต้องขอขอบพระคุณ น้องอั้ม และ Website ทั้งสองแห่งที่เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นไว้ด้วย
http://www.chontech.ac.th/~electric/e-learn/unit3/unit3.htm

http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page06013.asp


สรุปแบบต่อแบบต่างๆ

1.- การต่ออนุกรม Serial เป็นการต่อวงจรที่ความต้านทานรวม จะมีค่าเท่ากับความต้านทานของลำโพงทุกตัวรวมกัน  อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ในบทก่อนว่า ความต้านรวมที่มากขึ้น จะทำให้ Ampifier ไม่เสียหาย  แต่ก็มีข้อเสียคือว่า หากว่าลำโพงตัวใดตัวหนึ่งเสียก็จะทำให้ลำโพงชุดนั้นทั้งหมด เงียบ ไม่มีเสียงและก็มีข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือ เสียงที่ได้จะไม่คมชัดตามที่มันควรจะเป็นเพราะว่าความต้านทานที่มากขึ้นก็เป็นตัวบั่นทอนสัญญาณจากแอมป์ลงไปด้วยเช่นกัน เสียงที่ได้จะเกิดการ Loss ไปมากกว่า 40% ความคมชัดก็หายไป เสียงลำโพงก็จะเบาตามไปด้วย


2.- การต่อแบบขนาน การติดตั้งจะง่ายที่สุด แต่ก็มีปัญหาอยู่ว่า ยิ่งติดลำโพงมากเท่าไหร่ มันก็จะทำ
ให้ค่าความต้านทานรวม (โอห์ม-ohm) ต่ำลงไปเรื่อยๆ  ผลที่ตามมาก็คือมันจะทำให้ Ampifier ต้องทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆและไหม้ในที่สุด

     การคำนวนค่าความต้านทานรวมในระบบดูจากรูปได้เลยครับ

                              

3.-การต่อวงจรผสม เป็นระบบที่ดีมากระบบหนึ่ง (หากว่าต่อเป็น)  สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องไฟฟ้าจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากครับ  ผมก็เป็นเช่นกัน แต่ว่าตอนนี้ความเข้าใจมีมากขึ้นอีกระดับหนึ่งแล้ว  จึงอยากจะช่วยเพื่อนๆที่ยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องไฟฟ้าเหมือนกับผม

การต่อวงจรผสมนี้ จะทำให้เสียงที่ได้ค่อนข้างดี พร้อมทั้งยังสามารถควบคุมความต้านทานรวมได้หรือ สามารถที่จะคำนวนได้ว่าต้องการให้ค่า R ออกมาอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อที่ว่าจะให้ Ampifier ทำงานไม่หนักเกินไป ทำงานได้ประสิทธิสูงสุดเลย เสียงที่ออกมาก็คมชัด ไม่เกิดการ Loss ในระบบ แต่ว่าการต่อวงจรออกจะซับซ้อนเล็กน้อย  จึงต้องค่อยๆศึกษาไปเสียก่อนแล้วจึงจะเริ่มๆเข้าใจขึ้น

                   

                     

จากทั้ง 2 รูป เป็นการต่อผสมที่เหมือนกันครับ ให้ค่าความต้านทาน (โอห์ม) เท่ากัน เหมือนกัน
แต่ว่าเป็นเขียนวงจรเป็นแบบซับซ้อน กับเขียนวงจรแบบพื้นฐาน จึงทำให้ดูแตกต่างกันไปบ้างครับ

     ผมได้ทำการสรุปการคำนวนค่า R ออกมาเป็นสูตรหรือเป็นสมการในการคำนวณหาค่า R ทั้งระบบที่ออกจากแอมป์  และค่า R ที่แยกออกไปสำหรับแต่ละชั้น  พร้อมทั้งได้แยกย่อยค่า R แต่ละชั้นออกเป็นระดับ Line  พร้อมทั้งจำนวนลำโพงที่ใช้ในการต่ออนุกรมในแต่ละ Line ไว้ให้พร้อมคำนวนหา จำนวนลำโพงที่ใช้ในแต่ละ Line ที่อยู่ในตึกนกไว้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ 

สามารถ Download ไปใช้ได้ทั้งแบบ Exel 2003 และ 2007 ซึ่งจะมีรูปประกอบให้แบบคร่าวๆ แยกเป็นชั้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในเดินวงจรให้กับเพื่อนๆ  มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย (สำหรับเพื่อนที่เป็นชาวต่างประเทศ)

1 ความคิดเห็น: